องค์การสันนิบาตชาติ
องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations)
เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1919 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ได้เสนอหลักการ 1 ข้อเพื่อใช้เป็นหลักในการเจรจาทำสนธิสัญญาสันติภาพต่อผู้นำของผู้นำประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะป้องกันมิให้เกิดสงครามร้ายแรงที่จะทำลายล้างประชาชาติขึ้นอีก โดยให้สถาปนาองค์การสันนิบาตชาติขึ้น
1. สมาชิกภาพ ประเทศที่เป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกประเทศได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพจะเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติโดยอัตโนมัติ ประเทศที่เป็นฝ่ายแพ้สงครามมีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกขององค์การนี้ได้ แต่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาสันติ
ภาพให้เรียบร้อยเสียก่อน ส่วนประเทศอื่นๆจะเข้ามาเป็นสมาชิกได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากการออกเสียงสองในสามของ
ประเทศสมาชิกส่วนสหรัฐอเมริกาแม้จะเป็นผู้ริเริ่มองค์การนี้ก็ไม่ได้เป็นสมาชิก เนื่องจากสาครองเกรสของสหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้สัตยาบัน องค์การนี้ประชุมครั้งแรก ณ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในค.ศ. 1920
2. วัตถุประสงค์ การดำรงสันติภาพและป้องกันสงครามในอนาคต
3. หลักการ - ร่วมมือกันรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงระหว่างประเทศ
- เป็นองค์กรกลางในการตัดสินชี้ขาดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ
- ร่วมมือกันดำเนินการลดกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์
- ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทางการทูต
4. การดำเนินงาน มี 5 ส่วนคือ
4.1 สมัชชา ที่ประชุมใหญ่ขององค์การประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทั้งหมด กล่าวคือ ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจะส่งผู้แทนไปประจำได้ประเทศละ 3 คน เป็นอย่างมาก แต่การออกเสียงแต่ละประเทศลงคะแนนได้ 1 เสียง มีวาระการประชุมปีละครั้ง
4.2 คณะมนตรี เป็นผู้บริหารองค์กร ประกอบด้วยสมาชิกประเภทถาวร 4 ประเทศคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และญี่ปุ่น และสมาชิกไม่ถาวร ที่มาจากการเลือกตั้งอีก 4 ประเทศ โดยประชุมกันปีละครั้ง
4.3 สำนักงานเลขาธิการ ได้รับการรับเลือกจากคณะมนตรี
4.4 คณะกรรมการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
4.5 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ทำหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีต่างๆ ระหว่างพรมแดน ประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน